กำเนิดจากภารกิจรับใช้กองทัพในฐานะยุทธยานยนต์คันหลัก จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นรถ "Humvee" ตามภาพยนตร์แนวสงครามหลายต่อหลายเรื่อง ทางผู้ผลิตในสมัยนั้น คือ "AM General Corporation" มองเห็นช่องทางด้านการตลาดจึงได้ผลิตออกขายให้กับพลเรือนทั่วไป และเปลี่ยนชื่อซะใหม่เป็น "Hummer" โดยรูปทรงภายนอกยังคงโหดเหมือนเดิมทุกประการ วัสดุต่างๆ เปลี่ยนไปเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะสมกับรถใช้งานบนท้องถนน ภายในติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเพิ่มเข้าไปเพื่อให้แตกต่างกับรถใช้งานในกองทัพ อาทิ กระจกไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ เครื่องเสียง พรมปูพื้น และวัสดุดูดซับเสียงภายในห้องโดยสาร ในบอดี้นั้นมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "H1"
จนในปี 1999 รถลุยค่ายนี้ตกไปอยู่ภายใต้ร่มเงาของ "GM" หนึ่งใน "Big Three" ของสหรัฐอเมริกา การบริหารงานและแผนการตลาดจึงเป็นระบบมากยิ่งขึ้น แล้วในที่สุดก็คลอดตัว "H2" ออกมา โดยเน้นขนาดที่เล็กลง ตัวถังที่เบาขึ้นเพราะตัว "H1" น้ำหนักรวมทะลุ 3 ตัน ไปอีก 251 กก. และที่สำคัญรูปลักษณ์ต้องเข้าตากรรมการมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่ดิบและสุดแสนจะดุดันเหมือนในเวอร์ชั่นแรก
การออกแบบ Hummer H2 ยังอยู่ในรูปทรงกล่อง ไม่แตกต่างจาก H1 มากนัก จนฝรั่งตั้งชื่อให้เป็น "Hummer DNA" แต่ถูกลบเหลี่ยมออกไปเล็กน้อย ดูทันสมัยมากขึ้น เมื่อจับไเปรียบเทียบสัดส่วนกัน H2 จะยาวกว่าอยู่ 134 มม.นัยว่าต้องการเพิ่มพื้นที่ภายในห้องโดยสาร รวมถึงเผื่อไว้สำหรับเบาะนั่งแถวที่สาม ทางด้านความสูง H2 สูงกว่า 71 มม. สำหรับความกว้างอันเคยเป็นอุปสรรคบ้างในตัว H1 เมื่อต้องวิ่งร่วมถนนกับรถคันอื่นๆ ด้วยขนาด 2,197 มม. มาถึง H2 ถูกลดลงเหลือ 2,062 มม.
แผงหน้าปัด และคอนโซนออกแบบใด้อย่างลงตัวสุดๆ
แผงหน้าปัด และคอนโซนออกแบบใด้อย่างลงตัวสุดๆ
การวางเครื่องยนต์อยู่ในตำแหน่งเดียวกับรถเครื่องวางหน้าปกติ คอนโซลกลางจึงออกแบบได้เหมือนกับรถยนต์ทั่วไป ซึ่งออกแบบได้ดูดี
ในลักษณะแข็งแรงบึกบึนเหมาะเจาะลงตัวกับรูปแบบตัวรถอย่างไร้ที่ติ หลายส่วนประดับด้วยโลหะวาววับสะดุดตา อุปกรณ์อำนวยความสะดวกมีมาให้เพียบพร้อม ไม่แตกต่างจากรถ SUV หรูๆ ทั่วไป อาทิ กระจกไฟฟ้า ระบบปรับอากาศควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ สำหรับเครื่องเสียงประกอบด้วยเครื่องเล่น CD พร้อมลำโพง 6 ตัว รอบห้องโดยสาร โดยมี Bose(r) มาเป็นผู้ออกแบบระบบเสียงให้ บานประตูทั้ง 4 ซีลหนาแน่นถึง 3 ชั้น นอกจากป้องกันน้ำเล็ดลอดเข้าสู่ห้องโดยสารในยามลุยแล้ว ยังทำให้การเก็บเสียงภายในห้องโดยสารทำได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย
ขุมพลังที่ต้องพา H2 ที่มีน้ำหนักร่วมๆ 3 ตัน ตระเวนไปในทุกพื้นที่ ต้องมีสมรรถนะที่โดดเด่นพอตัว GM เลือกเครื่องยนต์ตระกูล "Vortec" จับยัดลงใต้ฝากระโปรงหน้า เป็นบิ๊กบล็อกเบนซิน "V8" ขนาดความจุ 6.0 ลิตร ผลิตม้าอเมริกันล่ำๆ ออกมาได้ 316 ตัว ถ้าจับไปเทียบกับ H1 ขานั้นใช้เครื่องดีเซล มีพละกำลังเพียง 195 แรงม้า ที่ดุเดือดตามลักษณะของเครื่องดีเซล คือ แรงบิดมหาศาล 58.63 กก.-ม. ส่วนเครื่อง "Vortec" แรงบิดหดหายไปเหลือเพียง 49.0 กก.-ม. ที่ 4,000 รอบต่อนาที แต่ก็มากพอที่จะพา H2 ทะยานจากจุดหยุดนิ่งถึง 100 กม./ชม. เพียง 10.1 วินาที
ในลักษณะแข็งแรงบึกบึนเหมาะเจาะลงตัวกับรูปแบบตัวรถอย่างไร้ที่ติ หลายส่วนประดับด้วยโลหะวาววับสะดุดตา อุปกรณ์อำนวยความสะดวกมีมาให้เพียบพร้อม ไม่แตกต่างจากรถ SUV หรูๆ ทั่วไป อาทิ กระจกไฟฟ้า ระบบปรับอากาศควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ สำหรับเครื่องเสียงประกอบด้วยเครื่องเล่น CD พร้อมลำโพง 6 ตัว รอบห้องโดยสาร โดยมี Bose(r) มาเป็นผู้ออกแบบระบบเสียงให้ บานประตูทั้ง 4 ซีลหนาแน่นถึง 3 ชั้น นอกจากป้องกันน้ำเล็ดลอดเข้าสู่ห้องโดยสารในยามลุยแล้ว ยังทำให้การเก็บเสียงภายในห้องโดยสารทำได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย
ขุมพลังที่ต้องพา H2 ที่มีน้ำหนักร่วมๆ 3 ตัน ตระเวนไปในทุกพื้นที่ ต้องมีสมรรถนะที่โดดเด่นพอตัว GM เลือกเครื่องยนต์ตระกูล "Vortec" จับยัดลงใต้ฝากระโปรงหน้า เป็นบิ๊กบล็อกเบนซิน "V8" ขนาดความจุ 6.0 ลิตร ผลิตม้าอเมริกันล่ำๆ ออกมาได้ 316 ตัว ถ้าจับไปเทียบกับ H1 ขานั้นใช้เครื่องดีเซล มีพละกำลังเพียง 195 แรงม้า ที่ดุเดือดตามลักษณะของเครื่องดีเซล คือ แรงบิดมหาศาล 58.63 กก.-ม. ส่วนเครื่อง "Vortec" แรงบิดหดหายไปเหลือเพียง 49.0 กก.-ม. ที่ 4,000 รอบต่อนาที แต่ก็มากพอที่จะพา H2 ทะยานจากจุดหยุดนิ่งถึง 100 กม./ชม. เพียง 10.1 วินาที
ระบบส่งกำลังเป็นเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด ถ่ายทอดกำลังผ่านชุด Transfer ไปปั่นล้อทั้ง 4 ทั้งรูปแบบ "High" และ "Low" ระบบกันสะเทือนด้านหน้าเปลี่ยนมาใช้ทอร์ชั่นบาร์ ขนาด 46 มม. กับเหล็กกันโคลง ส่วนด้านหลังเป็นคานแข็งพร้อมแขนยึดหลายจุด ที่ทางผู้ผลิตเรียกชื่อว่า "ไฟว์ลิงค์" ใช้คอยล์สปริงในรุ่นมาตรฐาน และมีแอร์สปริงหรือถุงลมมาให้เลือกเป็นออปชั่นเสริม นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ช่วยในการขับขี่อีกมากมาย ทั้ง "TCS" ช่วยลดอาการลื่นไถล โดยใช้เบรกควบคุมอย่างอิสระในแต่ละล้อ , ระบบ
TC2" ทำให้การลุยฝ่าทั้งทรายและโคลนง่ายขึ้น รวมถึงระบบเบรก ABS ที่เป็นแบบ 4 Sensor 4 Channel
โครงสร้าง GM ยัดเยียดเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใส่ให้อย่างเต็มที่ ด้วยเฟรมแบบ 3 ส่วน ส่วนแรกหน้าสุด หรือ Front Section เป็น Crush Zone ออกแบบให้ดูดซับแรงกระแทกเมื่อเกิดการชนขึ้นจากทางด้านหน้า ถัดมา Mid Frame เน้นความแข็งแกร่งแต่ทว่ายืดหยุ่น ลดการสั่นสะเทือน ช่วยในการขับขี่ทั้งบนไฮเวย์ และทางออฟโรด ส่วนสุดท้าย คือ Rear Frame เสริมความแข็งแรงเป็นพิเศษ รองรับการลากรถ เทรลเลอร์พิกัดน้ำหนักสูงถึง 3,909 กก. หรือเกือบๆ 4 ตันเลยล่ะ ทั้งหมดทำให้ H2 ลดน้ำหนักลงมาเหลือ 2,909 กก.
เปิดประตูก้าวเข้าสู่ห้องโดยสาร พบความเปลี่ยนแปลงชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ขณะที่ H1 เสริมแต่งจากรถในภารกิจทางการทหาร ภายในเล่นเอาหลายคนรับไม่ได้ แค่ตอนหน้าก็แย่แล้ว เพราะเบาะนั่งฝั่งซ้ายและขวาถูกเบียดบังด้วยอุโมงค์เกียร์ขนาดมหึมา สืบเนื่องจากตำแหน่งการวางเครื่องยนต์ใน H1 จะอยู่สูง และล้ำเข้ามากินพื้นที่ของห้องโดยสารมากพอควร ใน H2
เปิดประตูก้าวเข้าสู่ห้องโดยสาร พบความเปลี่ยนแปลงชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ขณะที่ H1 เสริมแต่งจากรถในภารกิจทางการทหาร ภายในเล่นเอาหลายคนรับไม่ได้ แค่ตอนหน้าก็แย่แล้ว เพราะเบาะนั่งฝั่งซ้ายและขวาถูกเบียดบังด้วยอุโมงค์เกียร์ขนาดมหึมา สืบเนื่องจากตำแหน่งการวางเครื่องยนต์ใน H1 จะอยู่สูง และล้ำเข้ามากินพื้นที่ของห้องโดยสารมากพอควร ใน H2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น